Operations and Productivity
Operations Management คืออะไร
Operations Management หมายถึง กลุ่มกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง (ผลิต) สินค้าและบริการโดยผ่านทางการโอนถ่ายระหว่าง Inputs และ Outputs กิจกรรมสร้างสินค้านั้นจะมีในทุกองค์กร และผลผลิตจะเห็นได้ชัดในบริษัทผลิตสินค้า เพราะจะเห็นการผลิตสินค้าที่มองเห็นได้ เช่น TV , รถยนต์เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดการบริการ สินค้าที่มองไม่เห็นจะถูกผลิตขึ้นเช่นกัน เช่น การโอนเงิน , การศึกษา
OM มาจากการรวมกันของวิศวกรรมอุตสาหกรรม และศาสตร์ของการจัดการ เป็นทั้ง Physical Science และ Information Science
Production หมายถึง การสร้างสินค้าและบริการ
The Heritage of Operations Management (ความเป็นมาของ OM)
OM เป็นอะไรที่ใหม่แต่ก็น่าสนใจมาก ในบทนี้จะขอนำเสนอเพียงไม่กี่คนที่มีความสำคัญ เช่น
1. Eli Whitney (1800) เป็นบุคคลที่วางมาตรฐานและควบคุมคุณภาพในการผลิต ปืนคาบศิลา ซึ่งเขาสามารถตั้งราคาไม่แพงนักเพราะระบบ interchangeable
2. Frederick W. Taylor (1881) รู้จักกันในนามของ บิดาแห่ง Scientific Management สิ่งที่ Taylor เชื่อก็คือการจัดการจะทำให้คนรับผิดชอบได้มากขึ้น จาก
2.1 การจัดคนให้ถูกกับงาน
2.2 มีการฝึกอบรมอย่างเหมาะสม
2.3 ให้วิธีในการทำงานและอุปกรณ์ที่เหมาะสม
2.4 ใส่ใจกับงานและผลตอบแทน
3. Henry Ford และ Charles Sorensen (1913) เริ่มใช้มาตรฐานในการผลิตโดยเริ่มมีสายการผลิตที่คนงานอยู่กับที่แต่ให้ชิ้นส่วนเลื่อนไปเรื่อย ๆ ตามจุดต่าง ๆ
4. Walter Shewhart (1924) ใช้สถิติกับการควบคุมคุณภาพ
5. W. Edwards Deming (1950) มีความเชื่อเหมือนกับ Taylor ว่าการจัดการจะก่อให้เกิดการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานและกระบวนการในการทำงานซึ่งจะก่อให้เกิดงานที่มีคุณภาพขึ้น
ทำไมต้องศึกษา OM : เราศึกษา OM ด้วยเหตุผลหลายประการ ดังนี้
1. OM เป็นหนึ่งในหน้าที่หลัก 3 ประการขององค์ (หน้าที่หลักขององค์กรคือ การตลาด, การเงิน และการผลิต (ดำเนินงาน) ดังนั้นจึงมีความสำคัญที่จะต้องรู้ว่าคนจัดการกับตัวเองอย่างไรในองค์กรผลิต
2. เราต้องการรู้ว่าสินค้าและบริการผลิตอย่างไร
3. เราต้องการเข้าใจว่าผู้บริหารทำอะไร
4. OM เป็นส่วนที่ลงทุนสูงมาก
OM เป็นหนึ่งใน 3 กลยุทธ์ของบริษัท นั่นคือ
1. Market Option : การจัดการที่ดีจะทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 50% ซึ่งนำไปสู่ income after tax ที่เพิ่มขึ้นถึง 71% แต่การเพิ่มยอดขายนั้นยากยิ่งกว่าอะไรทั้งสิ้น
2. Finance and Account Option : งบการเงินจะลดลงครึ่งหนึ่ง หากมีการจัดการทางการเงินที่ดีพอ แต่เงินที่ลดลงครึ่งหนึ่งนั้นก็ยังไม่พอที่จะทำให้รายได้เพิ่มขึ้น ถึงแม้จะเพิ่มขึ้นแต่อย่างมากที่สุดก็แค่ 21%
3. OM Option : ฝ่ายบริหารลดต้นทุนการผลิตลง 20% ทำให้รายได้เพิ่มถึง 114% จากเงื่อนไขตามตัวอย่าง Fisher Technologies (หน้า 6) : Fisher มีรายได้เพิ่มขึ้นจาก 10,500 usd เป็น 22,500 usd. และธนาคารก็เต็มใจที่จะให้กู้ยืมเงินลงทุนเพิ่มขึ้น
Operations Managers ทำอะไรบ้าง
Managers ที่ดีจะต้องทำหน้าที่พื้นฐานของการบวนการการจัดการได้ (Management Process) กระบวนการการจัดการ ประกอบด้วย :
1. การวางแผน (Planning)
2. การจัดการองค์กร (Organizing)
3. การจัดการพนักงาน (Staffing)
4. การนำ (Leading)
5. การควบคุม (Controlling)
Operations Managers ใช้การผลิตและการดำเนินการผ่านทางการตัดสินใจ 10 อย่าง เพื่อที่จะประสบความสำเร็จในการตัดสินใจต้องอาศัยกระบวนการในการจัดการที่กล่าวข้างต้น
Ten Critical Decisions of Operations Management (การตัดสินใจเรื่องสำคัญเร่งด่วน 10 เรื่อง)
1. Quality Management การจัดการด้านคุณภาพ : เช่น ใครจะรับผิดชอบด้านคุณภาพ ? เราจะกำหนดคุณภาพของสินค้าและบริการอย่างไร?
2. Service and product Design ออกแบบสินค้าและบริการ : เช่น จะนำเสนอสินค้าหรือบริการอะไร และจะออกแบบอย่างไร
3. Process and Capacity Design ออกแบบกระบวนการและความสามารถในการผลิต : เช่น จะใช้กระบวนการผลิตแบบไหนกับ Order ไหน? จะใช้เครื่องมือเครื่องจักรตัวใด ?
4. Location เลือกสถานที่ : เช่น เราจะตั้งหน่วยผลิตที่ไหน ?
5. Layout Design การจัดวางแผนผังโรงงาน : เช่น เราจะจัดวางเครื่องมือเครื่องจักรตรงไหน แล้วจะต้องใช้โรงงานขนาดใดเพื่อที่จะสามารถรองรับการผลิตและความต้องการได้ ?
6. Human Resources and Job Design การจัดการเรื่องทรัพยากรมนุษย์และการจัดสรรงาน : เช่น จะจัดคนให้เข้ากับงานอย่างไร ?, ต้องใช้พนักงานเท่าไร?
7. Supply-Chain Management การจัดการเรื่องการสนับสนุนวัตถุดิบ : เช่น เราจะซื้อหรือผลิตส่วนประกอบนี้เอง? ใครคือผู้สนับสนุนส่งของที่ดีให้เราและเราควรมีการติดต่อที่ดีกับคนพวกนี้มากน้อยแค่ไหน หรือควรมีการราย ?
8. Inventory , material requirements planning and JIT การวางแผนเรื่องวัตถุดิบคงเหลือ ,จำนวนวัตถุดิบที่ต้องการใช้ในแต่ละครั้ง และการวางแผนเรื่องการส่งของแบบตรงเวลา (JIT)
9. Intermediate, short-term and Project scheduling การวางแผนในระยะสั้น และระยะยาว
10. Maintenance การซ่อมบำรุง
ในการสร้างสินค้าและบริการ ทุกองค์กรจะต้องทำ 3 หน้าที่ ซึ่งมีความจำเป็นต่อความอยู่รอดขององค์กรดังนี้
1. Operations การผลิตและการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวกับการสร้างสินค้า
2. Finance and Accounting การเงินและการบัญชี จะดูถึงสภาพความมั่นคงของบริษัท การจ่ายหนี้และการเรียกเก็บเงิน
3. Marketing การตลาดต้องดูเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้าหรืออย่างน้อยก็ต้องจัดการกับการรับคำสั่งซื้อสินค้าหรือบริการ (จะไม่มีอะไรเกิดขึ้นจนกว่าจะมีการขาย) ทั้งมหาวิทยาลัย, โบสถ์ และองค์กรธุรกิจ ก็ต้องทำหน้าที่เหล่านี้ทั้งนั้น แม้แต่องค์กรที่ไม่ได้หวังกำไรก็ตาม
Ergonomics หมายถึง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเครื่องกล หรือเครื่องใช้เพื่อลดความไม่สะดวกและความล้าจากการใช้งาน
Exciting New Trends in Operations Management แนวโน้มใหม่ ๆ ที่น่าตื่นเต้นในการจัดการดำเนินการ
เหตุผลหนึ่งที่ OM เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นก็คือ OM Managers จะต้องเผชิญกับโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง แนวทางและผลของการตัดสินใจใน 10 เรื่องนั่นคือสิ่งที่เปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดจากโลกาภิวัฒน์ของการค้าโลกทำให้เกิดการโอนถ่ายทางความคิด สินค้า และเงินอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงมีดังนี้
1. Local or National focus--------Global Focus
เปลี่ยนแปลงจากเน้นที่ผลผลิตขายในท้องถิ่นในประเทศ เป็นระดับโลก ซึ่งเป็นผลมาจาก ต้นทุนต่ำลง การสื่อสารที่ถึง กัน และการขนส่งที่เป็นเครือข่าย
Global Focus ลดค่าใช้จ่ายทางการสื่อสารและการขนส่ง ซึ่งก่อให้เกิดตลาดที่มีลักษณะเป็น Global แต่ขณะเดียวกัน วัตถุดิบในรูปของวัตถุดิบ พรสวรรค์ คนงานก็ได้กลายเป็น Global ด้วย การกลายเป็น Globalization อย่างรวดเร็วนี้ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทำการแข่งขันเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตและอุตสาหกรรมเติบโต OM Managers ต้องรับผิดชอบในเรื่องการคิดค้นที่ทำให้เกิดความคิด ส่วนประกอบสินค้าและตัวสินค้าที่เคลื่อนไหวได้รวดเร็วตามสถานที่และเวลาที่ต้องการ
2. Batch (Large) shipments--------Just – In – Time Shipments
เปลี่ยนแปลงจากการขนส่งที่มีปริมาณมาก ๆ ในคราวเดียว เป็นการส่งเท่าที่ต้องการในเวลาที่พอเหมาะพอดีซึ่งเป็นผลมาจากเงินลงทุนที่สูงขึ้นบีบให้ต้องมีการลดลงของวัตถุดิบและสินค้าคงเหลือ
Just – In – Time Shipments แหล่งงินมหาศาลไปจมอยู่กับวัตถุดิบและสินค้าคงเหลือ และของเหล่านี้เองที่เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนที่ในตลาด OM Managers ต้องแก้ปัญหาโดยการตัดหรือลดมันในทุกระดับตั้งแต่ขั้นวัตถุดิบยันสินค้าสำเร็จรูป
3. Low – Bid Purchasing--------Supply – Chain partners
เปลี่ยนแปลงจากการซื้อในราคาต่ำจากใครก็ได้ เป็นการใช้ระบบคู่ค้าส่งสินค้า ซึ่งเป็นผลมาจากการต้องการเน้นคุณภาพทำให้ผู้ส่งต้องมีการพัฒนาสินค้า
Supply – Chain Partners อายุของสินค้าสั้นลงพอ ๆ กับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในเทคโนโลยีของวัตถุดิบและกระบวนการผลิต ซึ่งต้องการการใส่ใจจากผู้ส่งสินค้า OM Managers จึงมีหน้าที่สร้างคู่ค้าระยะยาวกับวัตถุดิบที่ต้องใช้ตลอด
4. Lengthy product Development--------Rapid Product Development
เปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่องใช้เวลานาน เป็น การพัฒนาสินค้าที่รวดเร็วขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากชีวิตสินค้าสั้น การสื่อสารรวดเร็ว มีคอมพิวเตอร์ช่วยและมีการร่วมมือกันระหว่างประเทศ
Rapid Product Developemnt จากการสื่อสารของข่าวบันเทิง และวิถีชีวิตที่ถึงกันทั่วโลกทำให้ชีวิตสินค้าสั้นลง OM Managers เกี่ยวข้องกับการออกแบบเทคโนโลยีที่รวดเร็วและออกแบบการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
5. Standardized products--------Mass Communication
เปลี่ยนแปลงจากสินค้าที่ผลิตเป็นมาตรฐานหนึ่งเดียวทั่วโลก เป็นผลิตตามลักษณะความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่ อันเป็นผลมาจากตลาดที่มีความหลากหลายทั่วโลกทำให้กระบวนการผลิตมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
Mass Communication เริ่มจากการมองโลกว่าเป็นตลาด ความแตกต่างของคนจะเห็นได้ชัด วัฒนธรรม ความเป็นตัวเองที่แตกต่างกัน จึงต้องมีการพัฒนากระบวนการผลิตที่ยืดหยุ่นพอที่จะจัดให้ตามความต้องการในเวลาและสถานที่ที่ต้องการด้วย
6. Job Specializ ation--------Empowered employees, teams and lean production
เปลี่ยนแปลงจากงานที่ต้องใช้ความสามารถพิเศษเฉพาะตัว เป็นพนักงานทีมงานที่มีความรู้หลากหลาย อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงในสังคม วัฒนธรรม ทำให้เพิ่มความรู้และมีข้อมูลทางสังคมมากขึ้น
Empowered employees, teams and lean production พนักงานที่มีความรู้ความสามารถที่หลากหลาย และที่ทำงานที่มีเทคโนโลยีที่ดี นำมารวมกันทำให้เกิดความสมดุลย์เหมาะสมในที่ทำงาน OM Managers ต้องให้พนักงานฝึกการตัดสินใจมากขึ้น
Operations in the Service Sector
Services หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐศาสตร์ที่ผลิตสินค้าที่มองไม่เห็น
ความแตกต่างของสินค้าและบริการ
1. บริการเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น
2. บริการจะถูกผลิตและบริโภคในเวลาเดียวกัน กักเก็บไว้ไม่ได้
3. บริการมีลักษณะเป็นหนึ่งเดียวเป็นเอกลักษณ์ เช่น หมอฟัน บริการทำฟันแต่ให้บริการไม่เหมือนกัน ทำของใครของมัน
4. บริการมีลักษณะที่ลูกค้าต้องให้ความร่วมมือในขณะซื้อบริการ ปกติแล้วบริการมักจะไม่มีมาตรฐานและประสิทธิภาพเท่าที่เราต้องการ
5. บริการไม่มีคำจำกัดความของตัวบริการที่แน่นอน
6. บริการมักจะมีลักษณะของการใช้ความรู้เป็นหลักจึงยากที่จะมีลักษณะเป็นอัตโนมัติ
7. การผลิตบริการไม่ได้มาจากแหล่งเดียวกันแต่เป็นการแพร่กระจาย
8. บริการขายต่อไม่ได้
9. ผู้ให้บริการเป็นผู้ขนส่งไม่ใช่ตัวสินค้า
10. ที่ตั้งร้านค้าสำคัญต่อการติดต่อลูกค้าที่มารับบริการ
อย่างไรก็ตาม ถ้าจะพูดถึงความแตกต่างกันจริง ๆ แล้วก็ไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ เพราะในความเป็นจริงบริการเกือบทั้งหมดเป็นการผสมกันระหว่างการให้บริการและขายสินค้า เช่นขายสินค้ารวมบริการ แต่เมื่อเป็นบริการล้วน ๆ เราเรียก pure service ซึ่งมีน้อยมาก เช่น บริการให้คำปรึกษา
Productivity หมายถึง อัตราส่วนของผลผลิตหารด้วยวัตถุดิบ Output / Input การเพิ่มผลผลิตเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและการปรับปรุงประสิทธิภาพนั้นทำได้ 2 ทาง คือ
1. ลดวัตถุดิบ และให้ผลผลิตคงที่
2. วัตถุดิบคงที่และให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
ในแง่เศรษฐศาสตร์ Input คือ ที่ดิน คนงาน ทุน การจัดการรวมกันเป็นระบบการผลิต การจัดการทำให้ระบบนี้เกิดขึ้นซึ่งทำให้ Input กลายเป็น Output ซึ่งก็คือสินค้าบริการ เช่น ปืน เนย การศึกษา รีสอร์ท ฯลฯ
ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึงทำงานออกมาได้ดีด้วยทรัพยากรที่มีจำกัดและสูญเสียน้อยที่สุด (doing the job well)
ประสิทธผล (Effective) หมายถึง ทำสิ่งที่ถูก (doing the right thing)
อะไรจะเกิดขึ้นถ้าการผลิตถูกพัฒนาขึ้น
1. ต้นทุนลดลง 2. รายได้เพิ่มขึ้น 3. เงินปันผลในรูปของราคาสินค้าที่ถูกลง
Productivity Measurement
การวัดผลผลิตสามารถคิดได้ตรง ๆ เช่นกรณีผลผลิตวัดจากชั่วโมงการทำงานต่อชนิดของเหล็กที่กำหนดเป็นต้น ดูได้จากสมการ :
1. กรณีที่มีปัจจัยเดียว (Single-factor productivity)
Productivity = Units Produced / Input Used
* เมื่อ Units Produced หมายถึง ผลผลิตที่ต้องการ
Input Used หมายถึง ชั่วโมงการทำงาน
2. กรณีที่มีปัจจัยหลายตัว (Multifactor productivity)
Productivity = Units Produced / (Labor + Material + Energy + Capital + Miscellaneous)
ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและผลผลิตที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง (Productivity Variable)
1. แรงงาน 2. เงินลงทุน 3. การจัดการ
Knowledge Society หมายถึง สังคมซึ่งแรงงานได้ถูกเปลี่ยนแปลงจากงานที่ใช้แรงงานเป็นงานที่ใช้ความรู้ความสามารถ ดังนั้นในสังคมนี้จึงต้องการคนที่มีความรู้ทั้งศาสตร์เกี่ยวกับเทคโนโลยีและการจัดการ ซึ่งผลผลิตสูง, คุณภาพของสินค้าที่ได้สูง ต้องมีคุณภาพของ Inputs ที่สูงด้วยเช่นกัน
ผลิตผลทางด้านบริการนั้นพบว่ายากที่จะปรับปรุง เพราะ
1. มีลักษณะที่เน้นการใช้แรงงาน
2. เป็นวิธีการที่ผู้ให้บริการแต่ละคนทำ ไม่ขึ้นกับใคร
3. ใช้ความสามารถส่วนบุคคล
4. ยากที่จะใช้เครื่องมือเครื่องจักร
5. ยากที่จะประเมินคุณภาพ
งานที่ยิ่งต้องการความสามารถมาก ๆ ยิ่งยากที่จะดำเนินการปรับปรุงเพิ่มผลผลิต