ต้องการแลกลิงค์กับเรา Copy Code ไปไว้ที่เว็บท่านได้เลยครับ แล้วเมล์มาแจ้งเราจะนำแบบเนอร์ขจงท่าน มาติดที่เว็บเรา Bigqtraining.com ดูลิงค์ทั้งหมด
การวิเคราะห์ระบบการวัด Measurement System Analysis (MSA) 4th Edition
หลักการจัดการ/รายละเอียดเบื้องต้น ระบบการวัดปัจจุบันมีความสำคัญต่อการ ยืนยันผลการตรวจสอบคุณภาพ ถึงแม้ว่าระบบการผลิตจะมีความถูกต้องแต่ถ้าระบบการวัดมีความผิดพลาดก็อาจส่ง ผลต่อการตัดสินใจที่คลาดเคลื่อนได้ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าระบบการวัดขาดความเที่ยงตรง และความแม่นยำ ซึ่งจะส่งผลทันทีต่อการตัดสินใจด้านการวัดและวิเคราะห์ค่าของการตรวจสอบชิ้น งานที่มีความผิดพลาด ทำให้ขาดความเชื่อมั่นจากทางลูกค้าในระยะยาวได้ ดังนั้นระบบการวัดจึงถือเป็นระบบพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นที่จะต้องมีการควบ คุม และต้องลดความผันแปรในระบบการวัดซึ่งจำเป็นในช่วงของการทดลองผลิตและการผลิต จริงในเฟสที่ 4และ 5 ในกระบวนการวัดย่อยต้องมีความแปรผันเกิดขึ้นซึ่งแบ่งเป็น 2 ลักษณะดังนี้ 1 สาเหตุธรรมชาติ (Common cause) เป็นความผันแปรที่เกิดจากสาเหตุธรรมชาติ โดยค่าความผันแปรมีลักษณะเสถียรภาพ สามารถคาดการณ์ได้ 2 สาเหตุผิดพลาด (Special cause) เป็นความผันแปรที่เกิดจากสาเหตุผิดพลาด เนื่องจากปัจจัยภายนอก ค่าดังกล่าวจะไม่เสถียร และคาดการณ์ไม่ได้ ความคลาดเคลื่อนในระบบการวัดมี 3 ชนิด 1 ความคลาดเคลื่อนเชิงระบบ (Systematic error) เกิดจากปัจจัยภายนอกเช่น อากาศ ความชื้น อุณหภูมิ แสงสว่าง แก้ไขได้โดยการควบคุมให้คงที่ 2 ความคลาดเคลื่อนจากพนักงานวัด (Personal Error) เช่นการขาดความรู้ในการวัด ความเข้าใจการใช้เครื่องมือ แก้ไขโดยการอบรมและสร้างมาตรฐาน 3 ความคลาดเคลื่อนจากเครื่องมือวัด เกิดจากโครงสร้างของเครื่องมือวัด หรือวิธีการใช้งาน แก้ไขโดยการสอบเทียบ การปรับเปลี่ยนวิธีการวัดใหม่ ใช้อุปกรณ์ยืดจับในการจับงานที่จะทำการวัด 4 ความคลาดเคลื่อนจากสาเหตุอื่นๆ วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้ผู้ฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจหลักการของการวิเคราะห์ระบบการวัด ตามคำแนะนำของ AIAG 2.เพื่อใช้ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะการวิเคราะห์ระบบการวัดทั้งแบบ Variables และ Attribute 3.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ที่ได้ไปวิเคราะห์ระบบการวัดเพื่อลดความแปรผันที่เกิดขึ้นจากระบบการวัด กลุ่มเป้าหมาย : ผู้จัดการ หัวหน้างาน และผู้ที่สนใจ จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น กำหนดการอบรม วันที่ 1 09.00-12.00 บทนำ - ความเข้าใจพื้นฐานและวัตถุประสงค์ของ MSA - ข้อกำหนด IATF16949 ที่เกี่ยวข้องกับ MSA - ความหมายของ “การวัด” - ผลกระทบของการวัด (α , β )ที่มีต่อผลิตภัณฑ์และกระบวนการ - บทบาทของการวัดต่อการควบคุมกระบวนการ และผลิตภัณฑ์ - หลักการและความแปรผันในระบบการวัด - ความคลาดเคลื่อนของระบบการวัด - ความถูกต้องและความแม่นยำของการวัด - การปรับปรุงระบบการวัดเพื่อนำไปสู่การสร้างความเชื่อถือ - ขั้นตอนวิเคราะห์ปัญหาของระบบการวัด - บ่งชี้ประเด็นหรือปัญหาที่เกิดขึ้นในการวัด - สิ่งที่ต้องเตรียมการก่อนการวิเคราะห์ระบบการวัด การวิเคราะห์ความแม่นยำของระบบการวัดแบบ Variable - GR&R คืออะไร - ขั้นตอนการวิเคราะห์ความแม่นยำ - Run Chart แสดงผลการวัดแต่ละชิ้น/แต่คนละ - Whiskers Chart แสดงให้เห็นพิสัยของการวัดแต่ละชิ้น/แต่คนละ - การคำนวณและการวิเคราะห์จากค่า Xbar-R - การคำนวณและการวิเคราะห์ ค่า Repeatability , Reproducibility,GR&R , Rp , PV , TV ,ndc 12.00-13.00 - พัก 13.00-16.30 - Workshop (ทดลองจริง) - นำเสนอผลการวิเคราะห์ การวิเคราะห์ความถูกต้องของระบบการวัดแบบVariable - Bias คืออะไร - ขั้นตอนการวิเคราะห์ความเที่ยงตรง - คำนวณหาค่า bias - คำนวณหาช่วงความเชื่อมั่น (Confidence Intervals) ของ Bias - Workshop (ทดลองจริง) - นำเสนอผลการวิเคราะห์ วันที่ 2 09.00-12.00 การวิเคราะห์ความถูกต้อง/แม่นยำ เมื่อเปลี่ยนย่านวัดแบบVariable - Linearity คืออะไร - ขั้นตอนการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงและแม่นยำในแต่ละย่านวัด - คำนวณหาค่า bias แต่ละย่านวัด - คำนวณหาช่วงความเชื่อมั่น ของ Bias แต่ละย่านวัด - การยืนยันสมมติฐานของค่า (α , β ) - Workshop (ทดลองจริง) - นำเสนอผลการวิเคราะห์ 12.00-13.00 - พัก 13.00-16.30 การวิเคราะห์เสถียรภาพของระบบการวัดแบบVariable - Stability คืออะไร - ขั้นตอนการทวนสอบความเที่ยงตรงและแม่นยำ - การคำนวณหาค่า UCL , LCL ของ Bais - Workshop (ทดลองจริง) - นำเสนอผลการวิเคราะห์ การวิเคราะห์ระบบการวัดแบบนับ - Kappa คืออะไร - ขั้นตอนการวิเคราะห์ Repeatability , Reproducibility แบบ Attribute - การคำนวณ Kappa , Effectiveness , Miss Rate , False Alarm Rate - Workshop (ทดลองจริง) - นำเสนอผลการวิเคราะห์ - Q&A
รูปแบบการอบรม - บรรยาย 30% Workshop 70% - ทำกิจกรรมกลุ่มในการประเมินและร่วมกันระดมความคิด สิ่งที่องค์กรต้องจัดเตรียม ( ต่อกลุ่ม ) 1 วิเคราะห์ระบบการวัดแบบ Variable ความแม่นยำแบบวัด GR&R , AV , EV , TV - ชิ้นงาน part เดียวกัน จำนวน 10 ชิ้น จะต้องมีขนาดแตกต่างกันอย่างน้อย 5 กลุ่ม ถ้าต่ำกว่านี้ค่า ndc จะต่ำ - เครื่องมือวัด 3 ตัวอาจเป็นเวอร์เนียร์หรือไมโคร ความละเอียดแย่สุด1/3 ของspecที่จะวัด (ควรมีความระเอียดมากกว่าไม่งั้นค่า ndc จะต่ำเหมือนกัน - สติกเกอร์สำหรับติดชิ้นงานทางเราจะจัดเตรียมให้ ความถูกต้องแบบวัด biasและ Stability - ชิ้นงานที่มี SEPC ไกล้เคียงกัน 3 ชิ้น แต่เราจะสนใจแค่ชิ้นเดียวอีกสองชิ้นจะเป็นชิ้นหลอก - เครื่องมือวัดเหมือนกัน GR&R ความถูกต้องแบบวัด Linearity - ชิ้นงานจำนวน 5 ชิ้น(ต้องมีจุดวัดในชิ้นนั้นๆประมาณ 5 จุด) - เครื่องมือวัดเหมือนกัน GR&R 2 วิเคราะห์ระบบการวัดแบบ Attribute - ชิ้นงาน part เดียวกัน จำนวน 20 ชิ้น และมีการแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 ส่วนดังนี้ ถุงที่ 1 ชิ้นงานดี 30% ถุงที่ 2 ชิ้นงานเสีย 30% ถุงที่ 3 ชิ้นงานที่ตัดสินใจยากแต่ดี 20% ถุงที่ 4 ชิ้นงานที่ตัดสินใจยากแต่เป็นชิ้นงานเสีย 20% - WI limit sample ที่บอกว่าชิ้นงานแบบไหนยอมรับได้หรือไม่ได้ - อุปกรณ์สำหรับตรวจเช่นแว่นขยายถ้าจำเป็นต้องใช้ - ให้ผู้ที่คิดว่าเก่งเรื่องการตัดสินใจเกี่ยวกับลักษณะภายนอกแยกออกมาเป็น 4 ถุงไม่ต้องติดเลขเดียวจะติดทีหลัง 3 โน๊ตบุ๊ค 1 เครื่องต่อกลุ่มเอาของใครมาก็ได้ต้องมีโปรแกรม office excel ด้วย
ติดต่อสอบถามข้อมูลการอบรม บริษัท บิ๊กคิว เทรนนิ่ง จำกัด BIG Q TRAINING CO., LTD.
16/2 หมู่ 6 ต.มาบแค อ.เมือง จ.นครปฐม 73000 16/2 Moo 6, Marb-kae, Muang Nakornpathom, Nakornpathom 73000 เบอร์ติดต่อ : 089-9993466 Fax : 034973518 เว็บไซต์ : www.bigqtraining.com Email : info@bigqtraining.com