หลักสูตร ET : Education & Training การศึกษาและการฝึกอบรม

บทนำ
TPM เกิดในประเทศญี่ปุ่นแต่ไม่มีชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่น ใช้คำทับศัพท์ว่าTPM ดังนั้นคำว่า TPM จึงไม่มีคำแปลที่เจาะจง โดยTPM เป็นตัวย่อมาจากคำเต็มว่า Total Productive Maintenace แต่ TPM ไม่ใช่หลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อดูแลเครื่องจักร แต่ TPM เป็นกิจกรรมที่ทุกคนทั้งองค์กรจะต้องร่วมกันทำ เพื่อลดการสูญเสีย กำจัดความสูญเปล่า และเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กร

ความหมายของ TPM
T ย่อมาจาก “Total”
Total Participation คือทุกคนในองค์กรจะต้องร่วมกันทำ
Total System คือทุกระบบที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรนำเข้ามาใช้ได้
Total Efficiency คือการกระทำทุกอย่างจะต้องมีการวัดผลเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้า

P ย่อมาจาก”Productive”
สิ่งที่ทำทุกอย่างต้องดีขึ้นเรื่อย ๆ หรือ “Perfect” ความสมบูรณ์ขององค์กรนั้น

M ย่อมาจาก “Maintenance”
การรักษาสภาพ หรือมาตรฐานไม่ให้ตกต่ำลงจากเดิม แล้วค่อยพัฒนาขึ้นไปเรื่อย ๆ ซึ่งก็
เป็นระบบการจัดการขององค์กร รวมถึง “Mamagement” คือการจัดการ

ในการบริหารจัดการการผลิต พบว่ามีความสูญเสีย(Loss)เกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งจากการทำงานของคน เครื่องจักร พลังงาน การใช้วัสดุต่างๆ โดยที่ความสูญเสียนั้น มักไม่ได้รับการแก้ไขหรือจัดการอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้นทุน การผลิตสูงขึ้นและปัญหาอื่นๆตามมา เช่นปัญหาคุณภาพ ผลผลิต การส่งมอบ ความปลอดภัย และขวัญกำลังใจ เป็นต้น ความสูญเสียทั้ง 16 ประการนี้ เป็นความสูญเสียที่ TPM มุ่งที่จะกำจัด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงสุด ซึ่งการสูญเสียหลักในการผลิตแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 3 กลุ่มหลัก คือ เครื่องจักร คน และค่าใช้จ่าย
กลยุทธ์ในการดำเนินกิจกรรม TPM
TPM เป็นกิจกรรมที่จะเปลี่ยนแนวคิดหรือทัศนคติในการทำงานของคนในองค์กร(Improving Human Resource) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้สูงสุด ด้วยการทำกิจกรรมการดูแลรักษาด้วยตนเอง (AM) และจัดระบบการแก้ไขปัญหากับเครื่องจักรอุปกรณ์ ควบคู่กันไป ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กรในที่สุด

8 เสาหลักของ TPM
1. การให้การศึกษาและฝึกอบรม (Education and Training)
2. การดูแลรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
3. การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง (Specific Improvement)
4. การดูแลรักษาเชิงวางแผน (Planned Maintenance)
5. ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม Safety and Environment)
6. การรักษาคุณภาพ (Quality Maintenance)
7. การควบคุมขั้นต้น (Initial Control)
8. การเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหาร (Efficient Administration)


กระบวนการในการดำเนินงาน TPM ให้ประสบความสำเร็จได้จะต้องมีการดำเนินกิจกรรมหลัก 8 ข้อ หรือเรียกว่า 8 เสาหลัก ซึ่งครอบคลุมทุกๆหน่วยงาน และทุก ๆคนที่มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม TPM

หนึ่งในแปดเสาหลักที่สำคัญที่จะช่วยให้การดำเนินงาน TPM บรรลุผลอย่างยั่งยืนและต่อเนื่องคือ เสาการศึกษาและการฝึกอบรม (Education & Training ) ซึ่งองค์กรต้องพัฒนาความรู้และทักษะของ พนักงานเดินเครื่อง Operator และช่างซ่อมบำรุง Maintenance ให้มีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้นเหมาะสมกับหน้าที่ที่รับผิดชอบโดยมีแนวคิดการแบ่งประเด็นการเรียนรู้ดังนี้
ตัวอย่าง หัวข้อที่ Multiskilled Operators จะต้องเรียนรู้
ตัวอย่าง หัวข้อ 6 โมดุลความรู้พื้นฐานที่ Operator ที่จะเรียนรู้
โดยการฝึกอบรมนั้นจะคัดเลือกผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องเช่น เรื่องนิวเมริก เรื่องแบริ่ง เป็นต้น ในองค์กรเข้ามาพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากรภายในโดยมีทั้งกระบวนการประเมินความจำเป็นในการอบรมในแต่ละส่วนโดยใช้ตาราง Skill Map และอาจนำเสนอความสามารถโดยใช้แผนภูมิใยแมงมุม
สื่อการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะพนักงานเดินเครื่อง Operator และช่างซ่อมบำรุง Maintenance ในการดำเนินการจะใช้ One Point Lesson (OPL) ที่ได้จากการดำเนินการดูแลรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง

การให้ศึกษาและการฝึกอบรมเป็นเสาหลักที่ไม่มีรู้แบบการดำเนินงานเฉพาะต้องอาศัยการประยุกต์ใช้ทฤษฏีต่างๆเข้ามาเป็นองค์ประกอบในการพัฒนาเสาหลักนี้ หนึ่งในหลักการนี้คือ วิธีการสอนงาน Job Instruction ของ TWI ซึ่งเป็นหลักการพัฒนาผู้ที่มีความรู้และความชำนาญเฉพาะเรื่องให้สามารถถ่ายทอดความรู้ที่มีไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพซึ่งในหลักการจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
1. การเตรียมตัวก่อนการสอน
– การกำหนดและประเมินความจำเป็นในการอบรม
– การจัดทำสื่อ ( OPL และ อุปกรณ์สำหรับการฝึกอบรม )
2. การสอนและการติดตามประเมินผล
– การเตรียมตัวเรียน
– การสอนงาน
– การทดลอง
– การติดตามผล
ในหลักการที่ JIPM ได้อธิบายแนวทางการดำเนินงานของเสาหลักนี้จะประกอบกันด้วย 6 ส่วนดังนี้

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบแนวคิดการดำเนินการตามแนวทางการให้การศึกษาและฝึกอบรมในการดำเนินงาน
2. เพื่อพัฒนาทักษะผู้สอนภายในให้เป็นผู้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างระบบการพัฒนาความรู้และทักษะภายในได้

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้จัดการ หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น

กำหนดการอบรม 1 วัน 09.00-16.30
บทนำ
– แนวคิดและหลักการของ TPM และการวัดประสิทธิผลของเครื่องจักร
– หลักการและแนวคิดของเสาหลัก (Education & Training)
– ความสัมพันธ์ของ ET กับเสาหลักอื่นๆใน TPM
– หัวข้อการพัฒนาทักษะและความรู้ของพนักงานเดินเครื่อง Operator
– หัวข้อการพัฒนาทักษะและความรู้ช่างซ่อมบำรุง Maintenance
– การดำเนินการ 6 ส่วนเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ
Education & Training
– การกำหนดความรู้และทักษะที่พึงมีและการประเมินความสามารถ 4 ระดับ
– การจัดทำ OPL สำหรับการสอน และ สื่อเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
– การจัดเตรียมอุปกรณ์และสถานที่อบรมพัฒนาทักษะ
– ขั้นตอนการฝึกอบรม
– WORKSHOP การสอนรายบุคคล
– สรุปผลการสอนแต่ละคน
– Q&A

รูปแบบการอบรม
– บรรยาย 30% Workshop 70%

 

 

Total Page Visits: 2017 - Today Page Visits: 1