หลักสูตร APQP 2nd & Project Planning : การวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า และ การวางแผนโครงการ ด้วยเทคนิค PERT-CPM 2 วัน

บทนำ

Advance Product Quality Planning ( APQP )คือ กิจกรรมเตรียมกระบวนการผลิตและบริการ ก่อนที่จะผลิตสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกค้าในกลุ่ม Big Three คือ Ford/GM/DaimlerChrysler) จะต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การได้รับความต้องการหรือแนวคิดจากทางลูกค้าไปจนถึงการจัดตั้งตั้งทีมงาน,การวางแผน,การบริหารโครงการ จนกระทั้งมีกระบวนการผลิตจริงเกิดขึ้นในโรงงานโดยอาศัยบทเรียนเก่ามาแก้ไขไม่ให้เกิดปัญหาข้อบกพร่องเดิมซ้ำอีก

วัตถุประสงค์และประโยชน์ของ Advance Product Quality Planning : APQP
– เพื่อลดปัญหา ข้อขัดแย้ง และความเข้าใจผิด ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์
– เพื่อให้เกิดการทำงานที่เป็นระบบ ทำให้เกิดความรวดเร็ว เสร็จทันเวลาไม่มีข้อผิดพลาด ลดปัญหาด้านคุณภาพ ลดการเปลี่ยนแปลงโดยไม่จำเป็น ประหยัดค่าใช้จ่ายและลดความเสี่ยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น
– มุ่งความพึงพอใจของลูกค้า โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

คู่มือ Advance Product Quality Planning : APQP ได้แนะนำรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อศึกษาและเตรียมความพร้อมให้องค์กร ดังนั้นเวลาประยุกต์ใช้องค์กรต้อพิจารณาขั้นตอนทั้งหมดที่คู่มือแนะนำรวมถึงขั้นตอนที่จำเป็นในการดำเนินงาน

การวางแผนโครงการ project planning ซึ่งเป็นการศึกษารายละเอียดของงาน การจัดทำแผนหลักและแผนย่อยในแต่ละส่วนงานเพื่อเป็นตัวกำหนดทำให้เกิดความชัดเจนเรื่องของงาน กำหนดระยะเวลาและวิธีการ ต่างๆซึ่งในการดำเนินงานจะประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้

เครื่องมือที่ใช้ใน การวางแผนโครงการ project planning มีมากมายหนึ่งในเครื่องมือนั้นคือ PERT-CPM และผังลูกศรเพื่อใช้ในการแสดงความสัมพันธ์และหาค่าเวลาต่างๆเพื่อใช้ในการวางแผนโครงการ project planning
แล้วนำผลที่ได้มาจัดทำแผนการดำเนินงาน
ในบางกรณีเมื่อวางแผนเสร็จสิ้นอาจพบว่าระยะเวลาที่ใช้อาจเกินกำหนดที่ต้องการดังนั้นผู้วางแผนต้องมีความเข้าใจกับหลักการเร่งรัดโครงการเพื่อปรับเปลี่ยนแผนใหม่

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการวางแผนคุณภาพล่วงหน้าตามแนวทางของคู๋มือ APQP2nd
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจในหลักการของการวางแผนและมีทักษะการประยุกต์ใช้เทคนิค PERT / CPM ในการวางแผนโครงการ
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถทบทวนและปรับเปลี่ยนเร่งรัดแผนให้สอดคล้องกับความต้องการ

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน วิศวกร และบุคคลทั่วไปที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น

กำหนดการอบรม 2 วัน 09.00-16.30

หัวข้อสัมมนา
หลักการและแนวคิดพื้นฐาน
– วัตถุประสงค์ของระบบ IATF16949
– วัตถุประสงค์ของการทำ APQP
– ข้อกำหนด IATF 16949 ที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า
– เฟส 1 การวางแผนและการกำหนด
– เฟส 2 การออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
– เฟส 3 การออกแบบและการพัฒนาการบวนการ
– เฟส 4 การรับรองผลิตภัณฑ์และกระบวนการ
– เฟส 5 ข้อมูลย้อนกลับ / การประเมินและการแก้ไข
– Workshop
การวางแผนบริหารโครงการ
– 6 ขั้นตอนพื้นฐานสำหรับการใช้ PERT / CPM ในการวางแผนโครงการ
1. กำหนด Work Breakdown Structure และ Project Organization
2. ศึกษาความสัมพันธ์ของงานย่อยต่าง ๆ ว่างานใดต้องทำเสร็จก่อนแล้วจึงเริ่มต้นทำงานอื่นได้ของ WBS ที่กำหนดมา
3. เขียนข่ายงาน (Network) เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของงานย่อยต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการโดย แผนผังลูกศร (Arrow Diagram)
– Workshop
4. ศึกษาเวลาที่ต้องใช้ในแต่ละกิจกรรม
5. คำนวณ ES, EF, LS, LF, Critical Path, Slack Time และ 𝜎
– Workshop
6. ใช้ข่ายงานที่เขียนมาเพื่อช่วยในการวางแผน จัดตารางการทำงาน
ตรวจสอบและควบคุมโครงการ
– Workshop การจัดทำแผนโครงการ
การทบทวนเร่งรัดแผนโครงการ
– กำหนดระยะเวลาที่ต้องการเสร็จ และ หาสายงานวิกฤต
– กำหนดต้นทุนของการเร่งโครงการ
– เลือกกิจกรรมสำหรับเร่งรัดโรงการ
– คำนวณ ES, EF, LS, LF, Critical Path, Slack Time และ 𝜎
– ปรับปรุงแผนโครงการใหม่
– Workshop
– การวางแผนความต้องการทรัพยากร
– Workshop
– Q&A

รูปแบบการอบรม
– บรรยาย 40% Workshop 60%

สิ่งที่ลูกค้าต้องเตรียม
– แฟ้มเอกสาร APQP และ PPAP ของผลิตภัณฑ์ที่เคยดำเนินการ
– ขั้นตอนปฏิบัติงานเกี่ยวกับ APQP และ PPAP รวมถึง Form ที่มีการประยุกต์ใช้

Total Page Visits: 1709 - Today Page Visits: 1