บทนำ
ในสภาวะการปัจจุบันที่การแข่งขันทางธุรกิจมีความรุนแรงมากขึ้น องค์กรธุรกิจต่างๆจึงต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มที่จะใช้แนวคิดการจัดการสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการบริหารและการดำเนินงานมากยิ่งขึ้น แนวคิดการบริหารที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน ได้แก่เรื่องการประเมินผลองค์กร และการกำหนดตัวชี้วัด (Performance Measurement and Key Performance Indicators : KPI ) ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารสามารถทราบถึงสถานะ และมุ่งเน้นในสิ่งที่เป็นความสำเร็จขององค์กร อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่ผู้บริหารสามารถใช้ในการบริหารองค์กร ตลอดจนประเมินผลการดำเนินงานทั้งในระดับองค์กร ระดับหน่วยงาน และระดับบุคคล
การกำหนด KPI มีกระบวนการและวิธีการมากมายขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้หลักการของผู้ปฏิบัติแต่ทั้งหมดก็ต้องการเพียงตัวที่ใช้ชี้วัดความสำเร็จของการทำงานเท่านั้น ในหลักสูตรนี้ วิทยากรได้มีการผนวก แนวคิดการดำเนินธุรกิจ และการดำเนินงานในระบบบริหารต่างๆ ออกแบบช่วงเวลาที่ควรมีการกำหนด KPI ดังนี้
ซึ่งจะเห็นได้ว่ามี 3 ช่วงคือ
1. ช่วงหลังการกำหนดวัตถุประสงค์องค์กร จะเป็น KPI เรื่องการเงิน
2. ช่วงออกแบบกระบวนการจำเป็น KPI ที่ใช้ชี้วัดความสำเร็จภาพรวมของกระบวนการ
3. ช่วงการแบ่งหน้าที่ จะเป็น KPI รายบุคคล
และได้มีการนำเอาหลักการทางสถิติเข้ามาใช้ในการศึกษาข้อมูลและแนวโน้มเพื่อใช้ในการกำหนด KPI ที่มีความเป็นไปได้และท้าทาง ไม่ใช้เพียงการคาดเดา
เมื่อองค์กรกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักเรียบร้อยแล้ว ภาระอันหนักอึ้งอย่างหนึ่งของคนทำงาน โดยเฉพาะหัวหน้าหน่วยงานต่างๆคือ การจัดทำแผนงาน/โครงการพร้อมกับแผนการดำเนินงานหรือที่นิยมเรียกกันว่า Action Plan นั่นเอง หลายคนมีคำถามว่าจะทำอย่างไรให้ Action Plan มีประสิทธิภาพ แต่ก็ยังมีอีกหลายคนถามว่ามันคืออะไร เจ้านายบอกให้ทำ Action Plan ถ้าให้แปลเป็นไทยก็พอเข้าใจว่ามันคือแผนปฏิบัติงานหรือแผนการดำเนินงาน ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ความหมายของคำว่า Action Plan แต่…อยู่ที่ว่าจะเริ่มต้นตรงไหนและใน Action Plan ควรมีอะไรบ้าง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมหลักสูตรนี้ได้ทราบถึงหลักการและแนวทางการกำหนดดัชนีชี้วัดความสำเร็จ KPI จากนโยบายองค์กรและภาระงาน
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมหลักสูตรนี้เกิดความรู้และมีทักษะการจัดทำแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมหลักสูตรนี้สามารถนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติเพื่อสร้างดัชนีชี้วัดความสำเร็จที่สอดคล้องกับระบบบริหารจัดการต่างๆ
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน และผู้ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น
กำหนดการอบรม
บทนำ
– ธุรกิจ คืออะไร
– SDCA และ PDCA เพื่อการบริหาร
– ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของการทำงานในแต่ละระดับการบังคับบัญชา
– ขั้นตอนการพัฒนาระบบการบริหารงานคุณภาพและ KPI
– ข้อกำหนดระบบบริหารISO9001และIATF16949ที่เกี่ยวข้องกับ การกำหนด KPI
Key Performance Indicators : KPI
– KPI คืออะไร
– หลักการกำหนดโดยSMART และมิติของ KPI
– ขั้นตอนในการกำหนด KPIs
– การกำหนดดัชนีชี้วัด “ด้านการเงิน”
– การกำหนดดัชนีชี้วัดงานแต่ละ “กระบวนการ”
– การกำหนดดัชนีชี้วัดงานใน “ระดับตำแหน่ง”
– Workshop
เทคนิคการกำหนดเป้าหมาย
– เทคนิค 1.การกำหนดเป้าหมายจากสถิติความน่าจะเป็น
– เทคนิค 2.การกำหนดเป้าหมายจาก Linear
เทคนิคการวางแผนงาน
– เก็บรวบรวมข้อมูลสภาพปัจจุบัน
– C-E Policy Deployment
– ศึกษาแนวทางจัดการและเลือกแนวทาง
– ศึกษารายละเอียดขั้นตอนและจัดทำแผน
– Workshop
– การวัดและการรายงานผล
– Q&A
รูปแบบการอบรม
– บรรยาย 60% Workshop 40%
– ทำกิจกรรมผ่านชุด WORKSHOP หลักสูตร KPI ที่สถาบันจัดเตรียมให้
– ใช้หลักการระดมสมองและการประยุกต์ใช้เครื่องมือสำหรับการกำหนด หลักสูตร KPI และ Action Plan