หลักสูตร 5 Principles for Problem Solving : 5หลักการสำหรับการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ( Honda )

บทนำ
การดำเนินกิจกรรมในแต่ละกระบวนการมีเป้าหมายเฉพาะเรื่อง เพื่อทำให้เกิดผลลัพย์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของกระบวนการถัดไป จนถึงลูกค้าผู้ใช้งาน ในแต่ละกระบวนการมีปัจจัยที่สำคัญที่เกี่ยวข้องต่อการปฏิบัติงาน เช่น คน เครื่องจักรอุปกรณ์ วัตถุดิบ วิธีการ และสภาพแวดล้อม 4M1E ไม่มีปัจจัยใดที่จะคงความสมบูรณ์และเหมาะสมอยู่ตลอดเวลา เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดความผิดปกติของปัจจัยเหล่านั้น ปัญหาย่อมเกิดขึ้น
ปัญหา คือ ความแตกต่างระหว่างผลที่เกิดขึ้นจริงและสิ่งเป้าหมายที่ต้องการ/คาดหวังซึ่งอาจเกิดขึ้นซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบที่สามารถวัดได้และรู้สึกได้

แต่ทุกปัญหาต้องได้รับการแก้ไข/ป้องกันการเกิดซ้ำ ในอุตสาหกรรมการผลิตได้มีการประยุกต์ใช้หลักการแก้ไขปัญหาหลากหลายประเภทเข้ามาใช้เช่น QCC ,QC Story , 8D ,5 Principles ,CAR & PAR เป็นต้น ซึ่งที่กล่าวมานี้เป็นเพียงกระบวนการทั้งหมด ซึ่งจะพบว่าผู้ที่แก้ไขรู้เพียงกระบวนการไม่รู้เครื่องมือสำหรับใช้ในการวิเคราะห์หรือแสดงผลก็อาจจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้

แต่ทุกปัญหาต้องได้รับการแก้ไข/ป้องกันการเกิดซ้ำ ในอุตสาหกรรมการผลิตได้มีการประยุกต์ใช้หลักการแก้ไขปัญหาหลากหลายประเภทเข้ามาใช้เช่น QCC ,QC Story , 8-Disciplines (8D) ,5 Principles ,CAR & PAR เป็นต้น ซึ่งที่กล่าวมานี้เป็นเพียงกระบวนการทั้งหมด ซึ่งจะพบว่าผู้ที่แก้ไขรู้เพียงกระบวนการไม่รู้เครื่องมือสำหรับใช้ในการวิเคราะห์หรือแสดงผลก็อาจจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้

5 Principles for Problem Solving
 เป็นเทคนิคการแก้ปัญหา (Problem Solving Techniques) ที่ทาง ฮอนด้า ได้นำมาให้ผู้ส่งมอบใช้ทั้งนี้เพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับผู้ส่งมอบของ Honda ทั้งหมด ซึ่งองค์การสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในตัวมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 และ IATF 16949 ได้

สิ่งที่จะได้จากการทำ 5P report
ได้วิธีการแก้ปัญหาที่มีระเบียบ ด้วยการใช้ความจริงมากกว่าการใช้อคติ(Bias) ส่วนบุคคล,เชิงสร้างสรรค์,แก้ได้ถาวรใช้ได้กับปัญหาหรือกิจกรรมใดใด รวมถึงช่วยให้มีการสื่อสารที่สัมฤทธิ์ผล ระหว่างแผนกต่างๆที่มีวัตถุประสงค์เดียวกันต้องทำเป็นเอกสารไว้ใช้ “Concern Analysis Report” เกิดการเชื่อมต่อในส่วนที่ขาดหายไประหว่าง SPC กับการปรับปรุงคุณภาพ

ประกอบด้วยขั้นตอน 5 ขั้นตอนดังนี้
     1 – นิยามปัญหา (Problem definition)
      1-A สำรวจสภาพปัญหา (Discovery)
      1-B รายละเอียดของปัญหา (Detail)
    2 – วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา (Root cause analysis)
      2-A ระดมสมองด้วย 4M (4M brainstorming)
      2-B รวบรวมความคิด (Idea summary)
      2-C ระบุสาเหตุของปัญหา (Identify Root Cause’s)
      2-D อธิบายเหตุผลของสาเหตุที่ระบุ(Selection Justification)
    3 – แผนการแก้ไขและป้องกัน (Containment Actions and/or Countermeasure(s))
    4 – ผลลัพธ์ที่ได้จากการนำแผนไปใช้ (Containment Actions and/or Countermeasure Effectiveness)
    5 – การส่งข้อมูลให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง/ลูกค้า (Feedback/Forward)

ซึ่งในขั้นตอนเหล่านี้มีกระบวนการหนึ่งที่สำคัญคือ การวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาซึ่งมีเครื่องมือ มากมายแต่ที่นิยมใช้กันคือ Why Why Analysis
Why Why Analysis เป็นเทคนิคการวิเคราะห์หาปัจจัยที่เป็นต้นเหตุให้เกิดปรากฏการอย่างเป็นระบบ มีขั้นมีตอน ไม่เกิดการตกหล่น ซึ่ง “ไม่ใช่การคิดแบบคาดเดา ,นั่งเทียน หรือ เหวี่ยงแห่” โดยหลักการวิเคราะห์ “ทำไม”

ซึ่งจะมีลักษณะการวิเคราะห์ 2 ประเภทคือ
1. มองจากสภาพที่ควรจะเป็น ใช้ในลักษณะ : ที่ผู้วิเคราะห์ทราบเพียงแค่ข้อแม้ที่ควรจะเป็นไม่สามารถกำหนดลักษณะแบบเฉพาะได้ เช่น ความร้อนต้องพอดี , ความเร็วต้องหมาะสม เป็นต้น
2. มองจากหลักเกณฑ์หรือทฤษฏี ใช้ในลักษณะ : ที่ผู้วิเคราะห์ทราบข้อแม้แบบชัดเจน ซึ่งแหล่งที่มาของข้อมูลอาจจะมาจากเอกสารเช่น CP , WI ที่จะบอกเกณฑ์ เช่น ความร้อน150±10องศา , ความเร็ว 76±5รอบ เป็นต้น

การแสดงผลการวิเคราะห์โดย แผนภูมิต้นไม้ (Tree Diagram)
แผนผังต้นไม้ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อแผนผังระบบ (Systematic Diagrams) หรือ Dendrograms เป็นเครื่องมือสำหรับเรียบเรียงความคิด (ที่อยู่ในรูปของ “บัตรความคิด”) คือการประยุกต์วิธีการที่แรกเริ่ม พัฒนาขึ้นสำหรับการวิเคราะห์หน้าที่งานในวิศวกรรมคุณค่า (Value Engineering) วิธีนี้เริ่มจากการตั้งวัตถุประสงค์ (เช่น เป้า (Target) เป้าหมาย (Goal) หรือผลงาน (Result)) และดำเนินการพัฒนากลยุทธ์สืบต่อมาเรื่อย ๆ เพื่อการบรรลุผลสำเร็จ

โดยนำมาจัดเรียงให้มีรูปร่างลักษณะคล้ายต้นไม้ที่มี “บัตรความคิด” เป็น กิ่ง ก้าน สาขา ดอก ใบ ทำให้มองเห็นภาพแผนผังระบบที่เป็นระบบหลาย ๆ ความคิดเหล่านั้นได้อย่างชัดเจนหรือพูดง่าย ๆ ก็คือ แผนภาพที่ใช้แสดงถึงวิธีการต่าง ๆ ในการบรรลุจุดประสงค์
ในการวิเคราะห์ทำให้ได้สาเหตุที่เป็นรากเหง้าของปัญหาหลักการที่ผู้วิเคราะห์ต้องมีการดำเนินงานคือ การบริหารโดยข้อเท็จจริง (Management By Fact) มีความสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเล็กๆ น้อยๆ จนกระทั่งปัญหาใหญ่ๆ โดยการบริหารข้อเท็จจริง เป็นพื้นฐานในการสังเกตการณ์ สภาพปัญหา และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาสาเหตุรากเหง้าของปัญหา ซึ่งจะทำให้การแก้ปัญหาได้ถูกต้อง ตรงจุด เกาได้ถูกที่คัน การจะได้ซึ่งข้อเท็จจริง จะไม่ใช่แค่ดูรายงาน ดูข้อมูล แต่จะต้องลงไปดู ฟัง สัมผัส กับพื้นที่จริงหรือลองทำจริงๆ ดูของจริง สถานการณ์จริงในการปฏิบัติ
และเพื่อทำให้ผลการวิเคราะห์มีความถูกต้องจึงต้องมีการตรวจสอบโดยอาจใช้หลักการดังนี้   

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้ฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจแก้ไขปัญหาตามหลักการ 5 Principles report
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนตามหลักการ 5 Principles report
3.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจหลักความสำคัญและความจำเป็นของการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อค้นหาสาเหตุด้วย WHY-WHY ANALYSIS
4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจวิธีการและมีทักษะในการวิเคราะห์สาเหตุโดย WHY-WHY ANALYSIS และหลักการ 5 GEN

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน และผู้ที่สนใจ

จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น
ระยะเวลาอบรม 1 วัน 09.00-16.30 น

หัวข้อฝึกอบรม
หลักการและเหตุผล
– อะไรคือปัญหา , ปัญหาคืออะไร , ระดับของปัญหา
– แหล่งที่มาของสิ่งไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
การแก้ไขและป้องกันปัญหา
– แนวคิดการแก้ไขปัญหา
– กระบวนการในการแก้ไขปัญหาทั่วไปที่นิยมใช้
ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาโดยหลักการ 5P
P1 – นิยามปัญหา (Problem definition)
1-A สำรวจสภาพปัญหา (Discovery)
1-B รายละเอียดของปัญหา (Detail)
P2 – วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา (Root cause analysis)
2-A ระดมสมองด้วย 4M (4M brainstorming)
2-B รวบรวมความคิด (Idea summary)
2-C ระบุสาเหตุของปัญหา (Identify Root Cause’s)
2-D อธิบายเหตุผลของสาเหตุที่ระบุ(Selection Justification)
Why-Why Analysis
– แนวคิดการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาของ Why-Why Analysis
– ขั้นตอนการวิเคราะห์ Why-Why Analysis
– 1. ยึดกุมข้อเท็จจริงของปัญหาและทำให้ปรากฏการณ์มีความกระชับ
– 2.ทำความเข้าใจกับระบบ (โครงสร้าง) ของเครื่องจักร หรือ หน้าที่งาน และบทบาท (การทำหน้าที่)
ของสิ่งที่จะทำการวิเคราะห์ โดยเชิงกายภาพหรือเชิงระบบ
– 3. บ่งชี้ข้อกำหนดที่ถูกต้องโดยอาศัยหลักการ
o จากสภาพที่ควรจะเป็น
o จากหลักการและกฎเกณฑ์
– 4 ค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ก่อนหน้า
o โดย ถามว่า แล้ว “ทำไม” ถึงเกิดปรากฏการณ์นั้นขึ้น
o บ่งชี้สาเหตุที่น่าจะเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์และทวนสอบผลการวิเคราะห์โดยใช้คำว่า “ทำให้” ย้อนกลับ
– 5. ยืนยันการเกิดของสาเหตุต้องสงสัยและพิสูจน์ความสัมพันธ์กับปรากฏการณ์ก่อนหน้า
– Workshop  Why-Why Analysis
P3 – แผนการแก้ไขและป้องกัน (Containment Actions and/or Countermeasure(s))
P4 – ผลลัพธ์ที่ได้จากการนำแผนไปใช้ (Containment Actions and/or Countermeasure Effectiveness)
P5 – การส่งข้อมูลให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง/ลูกค้า (Feedback/Forward)
– Workshop
– ถาม – ตอบ

 

รูปแบบการอบรม
– บรรยาย 40% Workshop 60%
– ใช้หลักการระดมสมองร่วมทำกิจกรรมกลุ่มในกระบวนการแก้ไขปัญหาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา

Total Page Visits: 3761 - Today Page Visits: 5