บทนำ
สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือมีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร พืชพรรณสัตว์ต่าง ๆ ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นตัวการสำคัญยิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทั้งในทางเสริมสร้างและทำลาย
มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ
สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็นลักษณะกว้าง ๆ ได้ 2 ส่วนคือ
• สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น อากาศ น้ำ พื้นดิน ทรัพยากรธรรมชาติ พืช สัตว์ มนุษย์ และความสัมพันธ์
• สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ชุมชนเมือง สิ่งก่อสร้างโบราณสถาน ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม
ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) เปิดเผยว่า เดือนมีนาคม 2015 ทำลายสถิติกลายเป็นเดือนมีนาคมที่ร้อนที่สุด นับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกสถิติในปี 1880 และในเวลาเดียวกัน ไตรมาสที่ 1 ปี 2015 (ม.ค.-มี.ค.) เป็นไตรมาสที่ 1 ที่ร้อนที่สุดในรอบ 136 ปีที่ผ่านมา ทำให้มีแนวโน้มว่าปี 2015 จะทำลายสถิติของปี 2014 กลายเป็นปีที่ร้อนที่สุด
ซึ่งการใช้พลังงานก่อนให้เกิดปรากฏการณ์หลายๆประการที่เป็นสาเหตุให้โลกร้อนเช่น
– ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Green house effect) เกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซโอโซน ก๊าซมีเทน ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอนและอื่น ๆ ลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศ เป็นลักษณะคล้ายกับเรือนกระจกที่ปิดล้อมรอบโลกเรา ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
– รูรั่วโอโซน โอโซนในชั้นบรรยากาศ ทำหน้าที่สำคัญคือกันรังสีอุลตร้าไวโอเลต (UV) จากดวงอาทิตย์ที่ผ่านมายังโลกให้เหลือในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกเกิดจากการใช้สาร คลอรีน-ฟลูโอรีน-คาร์บอน (CFC) ในตู้เย็น,เครื่องปรับอากาศและ กระป๋องสเปรย์
– ปรากฏการณ์เอลนีโญ (El-nino) และ ลานีญา (La Nina)
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อตนเองและสังคม
ในปัจจุบันเราสามารถจำแนก ปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่สังคมมนุษย์กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันนี้ได้ 3 ปัญหาใหญ่ ๆ คือ
1. ปัญหาการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากการใช้ทรัพยากรอย่างไม่ประหยัด
2. ปัญหามลภาวะหรือมลพิษทางสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการปลดปล่อย/ทิ้งสิ่งที่เป็นพิษ
3. ปัญหาการทำลายระบบนิเวศ เนื่องจากเกิดการเสียสมดุล
สาเหตุจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
สาเหตุจากการปล่อยมลพิษต่างๆ
มาตรฐาน ISO 14001 2015 ฉบับนี้ได้ระบุข้อกำหนดสำหรับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อให้องค์กรใช้ในการยกระดับผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม มาตรฐานฉบับนี้มีเจตนาให้องค์กรนำไปใช้ในการแสวงหาวิธีการจัดการความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมของตนอย่างเป็นระบบ และก่อให้เกิดความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานฉบับนี้ช่วยองค์กรบรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการจากระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งสร้างคุณค่ากับสิ่งแวดล้อม องค์กร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อมขององค์กร ผลลัพธ์ที่ต้องการจากระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมรวมถึง:
– การยกระดับผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
– เติมเต็มการปฏิบัติตามพันธกิจ
– บรรลุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม
ซึ่งมาตรฐานฉบับนี้เป็นฉบับที่ 3 มีการประกาศเมื่อวันที่ 15-09-2015 ที่ผ่านมา มาตรฐานฉบับนี้ได้มีการนำเอาแนวคิดบนพื้นฐานความเสี่ยง และโครงสร้างแบบ High Level structure มาเป็นกรอบในการออกแบบระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
รูปที่ 1 – ความสัมพันธ์ระหว่าง PDCA และกรอบการทำงานในมาตรฐานฉบับนี้
หัวใจของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 คือการระบุ ประเด็นลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ ( Significant environmental aspects ) หากระบุถูกต้องระบบ EMS จะช่วยท่านในการทำให้องค์กรได้รับประโยชน์ หากระบุผิดพลาดท่านจะไม่ได้อะไรนอกจากเสียเวลา เป็นภาระ เสียค่าใช้จ่าย แล้ว ผู้ประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม ก็ไม่เกิดความเข้าใจเพียงทำให้ผ่านๆไปเท่านั้น การพิจารณาหลักเกณฑ์ก็ไม่ชัดเจนไม่สามารถอธิบาย ไม่ครอบคลุม กิจกรรม บริการ และผลิตภัณฑ์ ตลอด life cycle
อันส่งผลให้การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมไม่ครบถ้วน หลักสูตรการประเมินลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมตาม ISO14001:2015 อย่างมีประสิทธิผล จะช่วยให้เข้าใจการประเมินลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม สามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์กับองค์กรในอนาคตต่อไป
life cycle : วงจรชีวิต
ขั้นตอนที่ต่อเนื่องและเชื่อมโยงกัน ของผลิตภัณฑ์ (หรือบริการ) ของระบบ จากการจัดหาวัตถุดิบ หรือตั้งแต่ทรัพยากรธรรมชาติไปจนถึงการกำจัดขั้นสุดท้าย
หมายเหตุ 1: ขั้นตอนในวงจรชีวิตประกอบด้วยการจัดหาวัตถุดิบ การออกแบบ การผลิต การขนส่ง/การส่งมอบ การใช้งาน การรักษาเมื่อหมดอายุการใช้งาน
LCA เป็นการทำงานส่วนหนึ่งซึ่งถูกบรรจุอยู่ในมาตรฐาน ISO14000 ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management Standard) อนุกรมของ ISO 14000 ที่เกี่ยวข้องกับ LCA มีดังนี้
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจเทคนิคการประเมินลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมตาม ISO14001 ตามหลักการของ Life Cycle Assessment
2.เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมมีทักษะในการประเมินลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมรวมถึงการ จัดทำวัตถุประสงค์เป้าหมายและโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้จัดการ หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น
ระยะเวลาอบรม 1 วัน 09.00-16.30 น
หัวข้อฝึกอบรม
– ความเข้าใจพื้นฐาน และวัตถุประสงค์ของการประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม
– ข้อกำหนด ISO14001:2015ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม
– คำจำกัดความที่เกี่ยวข้องกับการประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม
– ขั้นตอนการประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อมตามหลักการ Life Cycle Assessment
* การบ่งชี้กิจกรรม/ผลิตภัณฑ์/บริการ และการวิเคราะห์ Input / Output
– Work Shop
* การบ่งชี้ประเด็นและผลกระทบด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม
* การบ่งชี้รายการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
– Work Shop
– การกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมายและแผนงาน
– Work Shop
– Q&A
รูปแบบการอบรม
– บรรยาย 30% Workshop 70%
– กิจกรรมกลุ่มๆละไม่เกิน 5 คน และใช้หลักการคิดระดมสมองในการประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม และ กำหนดเป้าหมายและแผนงาน