หลักสูตร Suggestion System กิจกรรมข้อเสนอแนะ

บทนำ
ทุกกิจกรรมมีการใช้ปัจจัยสำหรับการผลิต เช่น คน เครื่องจักรอุปกรณ์ วิธีการ วัตถุดิบ และสภาพแวดล้อม ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ใช้เพื่อสำหรับการเพิ่มผลลิตซึ่งจะต้องทำงานร่วมกันอย่างเหมาะสม แต่ปัญหาที่พบคือไม่มีปัจจัยใดที่จะมีสภาพที่สมบูรณ์ได้ตลอด จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นในการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดทั้งความสูญเสียและสูญเปล่า ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเพื่อทำให้สภาพการทำงานเป็นปกติ

แนวคิดหลักของการปรับปรุงคือให้ผู้ที่มีความรู้และความชำนาญนั้นๆเป็นผู้สังเกตและเสนอแนะแนวทางการจัดการ เนื่องจากองค์กรมักมีความเชื่อดังนี้


เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1880 โดย กิจกรรมข้อเสนอแนะ (Suggestion System) มีใช้ครั้งแรกที่ประเทศ สก็อตแลนด์ โดยบริษัทวิลเลียมเคนน์ จำกัด ปี ค. ศ. 1894 บริษัทในประเทศ สหรัฐอเมริกาได้นำมาใช้ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บริษัทในประเทศญี่ปุ่นได้พัฒนามาใช้และได้มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง และ กิจกรรมข้อเสนอแนะ (Suggestion System)นำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับ KAIZEN ในช่วง ค. ศ. 1930


ประเทศไทยได้มีการนำ กิจกรรมข้อเสนอแนะ (Suggestion System) มาใช้โดยบริษัทในเครือของญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุน ในประเทศไทย และได้เผยแพร่ไปสู่บริษัทอื่นๆ เพิ่มขึ้น

วัตถุประสงค์
– เพื่อให้เข้าใจแนวคิดการดำเนิน กิจกรรมข้อเสนอแนะ (Suggestion System) และออกแบบแผนและขั้นตอนการเขียนข้อเสนอแนะ
– เพื่อให้สามารถกำหนดเกณฑ์และคัดเลือกรับลงทะเบียนและประเมินคุณค่าข้อเสนอแนะ การให้รางวัล ได้
– เพื่อให้มีทักษะ คัดเลือกหัวข้อ การประเมินความคุ้มค่า การตัดสินผลการดำเนินงาน

กลุ่มเป้าหมาย : หน่วยงานส่งเสริม คณะกรรมการประเมินคุณค่า และหน่วยงานรับลงทะเบียน

จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น
ระยะเวลา 1 วัน 09.00-16.30

หัวข้อฝึกอบรม
แนวคิดและวัตถุประสงค์ของ กิจกรรมข้อเสนอแนะ (Suggestion System)
– ความเชื่อ 5 ข้อที่ต้องคิดก่อนการดำเนิน กิจกรรมข้อเสนอแนะ
– ความเป็นมาของระบบข้อเสนอแนะ
– ระบบข้อเสนอแนะ หรือ Suggestion System (SS) คืออะไร
– วัตถุประสงค์ 8 ประการของระบบข้อเสนอแนะ
แผนการดำเนินงานและโครงสร้างทีมงาน
– แผนการดำเนินกิจกรรมข้อเสนอแนะในองค์กร 16 ขั้นตอน
– การแต่งตั้งคณะกรรมการระบบข้อเสนอแนะและอำนาจหน้าที่
การกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนิน กิจกรรมข้อเสนอแนะ
– แนวคิดการเขียนข้อเสนอแนะ
– การกำหนดประเด็นการเขียนข้อเสนอแนะและขอบเขตการเสนอ
– 3.องค์ประกอบที่ต้องมีสำหรับการเสนอแนะ
– ขั้นตอนการส่งข้อการเสนอแนะเพื่ออนุมัติดำเนินการ
– แนวคิดการกำหนดเกณฑ์การรับลงทะเบียน
– เกณฑ์การประเมินความคุ้มค่า ( กรณีมีค่าใช้จ่ายการลงทุน )
– การตัดสินอนุมัติให้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะ
การดำเนินงานปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ
– ขั้นตอนการดำเนินงานและการรวบรวมข้อมูลส่งประกวด
– แนวคิดการเปลี่ยนแปลงและแผนการดำเนินงาน
– การรวบรวมข้อมูลส่งประกวดและการตรวจสอบ
การกำหนดเกณฑ์การประกวดและการให้รางวัล
– ขั้นตอนการประกวด
– การตรวจสอบผลการดำเนินงาน
– แนวคิดการกำหนดเกณฑ์การประเมิน
– การมอบประกาศนียบัตร
– การจดลิขสิทธิ์หรือประดิษฐ์กรรมใหม่

รูปแบบการอบรม
– บรรยาย 100 % และยกตัวอย่างเกณฑ์ อาจมีการทำ Workshop ร่วมกันในการกำหนดเกณฑ์ และ ประเมินผล กิจกรรมข้อเสนอแนะ

 

Total Page Visits: 2968 - Today Page Visits: 1