หลักสูตร VSM : Value Stream Mapping การสร้างสายธารแห่งคุณค่า

บทนำ
คำว่า “Lean” ถูกกล่าวขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1990 จากในหนังสือภาษาอังกฤษที่มีชื่อว่า “The machine that changed the world” โดยทีมวิจัยและพัฒนาจาก MIT นำโดย James P. Womack (ผู้ก่อตั้ง Lean Enterprise Institute)ซึ่งเนื้อหาในหนังสือเกิดจากการศึกษา, วิเคราะห์ และเปรียบเทียบโรงงานประกอบรถยนต์ของญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา และยุโรปว่าทำไมญี่ปุ่นจึงประสบผลสำเร็จในการดำเนินธุรกิจผลิตรถยนต์ มากกว่าสหรัฐอเมริกาและยุโรป
ความเป็นมาของแนวคิดต่างๆ

ระบบการผลิตแบบลีน และการจัดการ Lean Manufacturing System and Management นั้นเป็นระบบที่มองเรื่องของการกำจัดความสูญเปล่า หรือกิจกรรมที่ไม่เกิดมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ และบริการ (Non Value Added Activity) โดยเฉพาะความสูญเปล่า 7 + 1 ประการ (7+1 Wastes)
ซึ่งการจะกำจัดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นนั้นระบบลีนจะใช้เครื่องมือ (Lean Tools) เข้าช่วยสนับสนุนเพื่อให้องค์กรบรรลุสู่ True North concept ของลีนซึ่งเป็นในทางอุดมคติ (Ideal State) คือ On demand immediate, One by one (Zero changeover), Zero Defect, Zero Waste and Lowest cost, Zero Accident

ในการดำเนินกิจกรรมการลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ในเวลาที่ลูกค้าต้องการนั้น จำเป็นที่จะต้องควบคุมเวลานำ (Lead time) ในกระบวนการผลิตให้อยู่ภายในเวลาที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งสายธารแห่งคุณค่า Value Stream Mapping ทำให้สามารถมองเห็นภาพรวม (Big Picture) ของกระบวนการ การเชื่อมโยงการไหลของข้อมูล และวัตถุดิบ แหล่งกำเนิดของความสูญเปล่า (Source of Waste) ซึ่งทำให้เห็นช่องทางในการปรับปรุงเพื่อลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น และยังเป็นขั้นตอนต้นๆ สำหรับการดำเนินการระบบลีนอีกด้วย
Value Stream Mapping เป็นเครื่องมือและเทคนิคที่สนับสนุนการพัฒนากลยุทธ์การผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing Strategy) ด้วยการแสดงลำดับขั้นตอนของกิจกรรมต่างๆ ที่มุ่งส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้า โดยแนวคิด การสร้างสายธารแห่งคุณค่า Value Stream Mapping จะทำให้สามารถเข้าใจภาพรวมของกระบวนการ (Overall Process) จากมุมมองลูกค้าโดยมุ่งแนวทางปรับปรุงการไหลของทรัพยากรและสารสนเทศ ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานซึ่งทำให้สามารถระบุกิจกรรมไคเซ็นที่จำเป็นสำหรับการขจัดความสูญเปล่า ดังนั้น การสร้างสายธารแห่งคุณค่า VSM จึงเป็น แนวทางที่ใช้จำแนกกิจกรรมที่สร้างคุณค่าเพิ่มและกิจกรรมที่เกิดความสูญเปล่าโดยนำข้อมูลผลลัพธ์จากการวิเคราะห์สถานะปัจจุบัน (Current State) ที่ถูกแสดงด้วยเอกสารสำหรับกำหนดสถานะในอนาคต (Future State) หลังจากการปรับปรุง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสัมมนาเข้าใจความหมาย และประโยชน์ของการสร้างสายธารแห่งคุณค่า Value Stream Mapping (VSM)
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสัมมนาได้เข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเขียน การสร้างสายธารแห่งคุณค่า Value Stream Mapping (VSM)
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสัมมนาสามารถเขียน VSM Current และ Future State ได้อย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้จัดการ หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น
กำหนดการอบรม  1 วัน  09.00-16.30

หัวข้ออบรม
บทนำ
– แนวคิดและขั้นตอนสำหรับการผลิตแบบลีน
– Value Stream คืออะไร? และ ความหมายของคุณค่า (Value)
– ทำไมต้องทำ Value Stream Mapping
– วิธีการวัด Lean Time
– Upstreamและ Downstream
การสร้างสายธารแห่งคุณค่า Value Stream Mapping ( VSM )
– 8 ขั้นตอนในการวาดแผนสายธารแห่งคุณค่า Value Stream Mapping
1. เลือกสายธารคุณค่าเพื่อปรับปรุง
2. วาดรูปขั้นตอนของกระบวนการ และ สัญลักษณ์ต่างๆ
3. รวบรวมข้อมูลของกระบวนการและใส่ลงไปในกล่องกระบวนการ
4. วาดรูปคลังวัตถุดิบและคลังสินค้าสำเร็จรูป
5. คำนวณเวลารอคอย
6. ลงไปในสายการผลิตและนับสินค้าคงคลังระหว่างผลิต (WIP)
7. คำนวณเวลารอคอยอันเนื่องมาจาก WIP
8. คำนวณค่า Velocity Ratio
– การเขียน Value Stream Mapping Current State
– Manufacturing Lead Time (MCT)
– การเขียน Value Stream Mapping Future State
– Q&A

รูปแบบการอบรม
– บรรยาย 30% Work 70%
– กิจกรรมกลุ่มวาด Value Stream Mapping

Total Page Visits: 1564 - Today Page Visits: 1