ข้อกำหนด ISO 45001 , การชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง 45001 , การประเมินความเสี่ยงด้านความ ปลอดภัย 45001 , ข้อกำหนด iso 45001:2018 , การตรวจติดตาม ภายใน iso 45001
บทนำ การประเมินความเสี่ยงด้านความ ปลอดภัย 45001
ความปลอดภัยในการทำงานนั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในภาวะการจ้างงานอาจก่อให้เกิดความสูญเสียต่อ ชีวิตคน เครื่องจักร สิ่งของในเวลา ทันทีทันใด ซึ่งในทางปฏิบัตินั้นอาจจะไม่สามารถควบคุมอันตรายหรือความเสี่ยงในการทำงานที่มีผลต่อสุขภาพ การบาดเจ็บ การพิการ การตายได้ทั้งหมด แต่ต้องมีการดำเนินงาน มีการกำหนดกิจกรรมด้านความปลอดภัย การตรวจสอบเครื่องจักร เพื่อให้เกิดอันตรายหรือความเสี่ยงน้อยสุดเท่าที่จะทำได้
ผู้ป่วยกว่า 7600 คนเสียชีวิตในแต่ละวันจากอุบัติเหตุหรือโรคที่เกี่ยวกับการทำงานซึ่งมีมากกว่า 2.78 ล้านคนต่อปี ภาระของการบาดเจ็บและโรคในงานมีความสำคัญทั้งสำหรับนายจ้างและเศรษฐกิจที่กว้างขึ้นส่งผลให้เกิดความสูญเสียจากการเกษียณอายุก่อนกำหนดขาดพนักงานและเบี้ยประกันเพิ่มขึ้น ในการทำงานของพนักงานย่อมมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่เป็นองค์ประกอบในการทำงาน ซึ่งอาจเป็นสภาพแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัย และเมื่อเกิดความผิดปกติส่วนบุคล และเกิด
การกระทำที่ไม่เหมาะสม อุบัติเหตุย่อมบังเกิการกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act) หมายถึง การกระทำหรือการปฏิบัติงานของคนที่มีผลทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยกับตนเองและผู้อื่น เช่น
การทำงานไม่ถูกวิธี หรือไม่ถูกขั้นตอน เช่น ยกของด้วยท่าทางที่ผิด ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย ถอดเครื่องกำบังเครื่องจักร ใช้เครื่องมือไม่เหมาะสมกับงาน การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ การมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง เช่น อุบัติภัยเป็นเรื่องของเคราะห์กรรมแก้ไขป้องกันไม่ได้ การทำงานโดยที่ร่างกายและจิตใจไม่พร้อมหรือผิดปกติ เช่น ไม่สบาย เมาค้าง มีปัญหาครอบครัว ทะเลาะกับแฟน เป็นต้น การใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆไม่เหมาะสมกับงานเช่นการใช้ขวดแก้วตอกตะปูแทนการใช้ค้อน ฯลฯ
ผลกระทบ : การสูญเสียเนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุ การสูญเสียทางตรง เช่น ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เมื่อพนักงานเกิดอุบัติเหตุขึ้น ค่าประกันชีวิต หากพนักงานเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ บริษัทจำเป็นต้องจ่ายพนักงานเหล่านี้ การสูญเสียทางอ้อม เช่น บุคคลากรในการปฏิบัติหน้าที่เดิม เนื่องจากผู้ประสบอุบัติเหตุจำเป็นต้องรักษาพยาบาล ความตระหนกตกใจของพนักงานคนอื่นๆ ค่าซ่อมแซม เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ ซึ่งได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ การทำงานหยุดชะงักลง เป็นผลให้ผลประกอบการลดลงไปด้วย หากเกิดอุบัติเหตุใหญ่จนทำให้กิจการต้องหยุดชะงักลง ย่อมทำให้กิจการขาดทุนมหาศาลได้
ในการต่อสู้กับปัญหา ISO ได้พัฒนามาตรฐาน ISO 45001 ระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถลดภาระนี้โดยการจัดหากรอบการทำงานเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยของพนักงานลดความเสี่ยงในที่ทำงานและสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีและปลอดภัยยิ่งขึ้น
มาตรฐานดังกล่าวได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและปฏิบัติตามแนวทางการจัดการระบบทั่วไปอื่น ๆ เช่น ISO 14001 และ ISO 9001 โดยจะคำนึงถึงมาตรฐานสากลอื่น ๆ ในเรื่องนี้เช่น ISO45001 ILO ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ แนวทางขององค์การอาหารและยา, มาตรฐานต่างๆของประเทศและมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศของ ILO และอนุสัญญา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบแนวคิดการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดจาก OHSAS18001:2007 เป็น ISO 45001:2018
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบรายละเอียดข้อกำหนดของ ISO45001:2018 และการประยุกต์ใช้
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการ หัวหน้างาน และผู้ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น
กำหนดการอบรม 2 วัน ตั้งแต่ 09.00-16.30
หัวข้อฝึกอบรม
1 ขอบเขต
2 การอ้างอิง
3 คำจำกัดความ
4 บริบทขององค์กร
4.1 ความเข้าใจในองค์กรและบริบทขององค์กร
– WORKSHOP การศึกษาบริบทขององค์กร
4.2 ความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการและความคาดหวังของคนงานและผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ
– WORKSHOP การศึกษาความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
4.3 การกำหนดขอบเขตของการจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
4.4 ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
5 ภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วมของพนักงาน
5.1 ภาวะผู้นำและความมุ่งมั่น
5.2 นโยบายการจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
5.3 บทบาท ความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่ขององค์กร
6 การวางแผน
6.1 การดำเนินการเพื่อรับมือกับความเสี่ยงและโอกาส
6.1.1 บททั่วไป
– WORKSHOP การประเมินความเสี่ยง
6.1.2 การระบุความเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยงด้านปลอดภัยและอาชีวอนามัย
– WORKSHOP ประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
6.1.3 การกำหนดข้อกำหนดทางกฎหมายที่บังคับใช้และข้อกำหนดอื่น ๆ
– WORKSHOP การระบุข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
6.1.4 การดำเนินการวางแผน
6.2 วัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยและการวางแผนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
6.2.1 วัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
6.2.2 การดำเนินการวางแผนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
7 การสนับสนุน
7.1 ทรัพยากร
7.2 ทักษะความสามารถ
7.3 ความตระหนัก
7.4 การสื่อสาร
7.4.1 บททั่วไป
7.4.2 การสื่อสารภายใน
7.4.3 การสื่อสารภายนอก
7.5 เอกสารสารสนเทศ
7.5.1 บททั่วไป
7.5.2 การสร้างและการอัพเดตข้อมูล
7.5.3 การควบคุมสารสนเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษร
8 การดำเนินงาน
8.1 การวางแผนและการควบคุมงาน
8.1.1 ทั่วไป
8.1.2 การขจัดความเป็นอันตรายและการลดความเสี่ยงความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
8.1.3 การจัดการการเปลี่ยนแปลง
8.1.4 การจัดหา
8.2 การเตรียมความพร้อมและการตอบสนองในกรณีฉุกเฉิน
9 การประเมินผลการดำเนินงาน
9.1 การติดตาม การวัดผล การวิเคราะห์ และการประเมินผล
9.1.1 บททั่วไป
9.1.2 ประเมินผลความสอดคล้อง
9.2 การตรวจประเมินภายใน
9.2.1 บททั่วไป
9.2.2 โครงการการตรวจประเมินภายใน
9.3 การทบทวนโดยฝ่ายบริหาร
10 การปรับปรุง
10.1 บททั่วไป
10.2 ความไม่สอดคล้องและการดำเนินการแก้ไข
10.3 การปรับปรุงเป็นประจำ
รูปแบบการอบรม
– บรรยายทำความเข้าใจข้อกำหนดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น